สาขาสถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โครงการนำร่อง ฮ่วมฟื้นเมืองแป้หื้อน่าอยู่ มีชีวิตชีวา

โครงการนำร่องที่นำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรม

 โครงการนำร่อง การปรับปรุงสภาพด้านหน้าอาคาร

ย่านถนนเจริญเมือง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูทัศนียภาพ ให้เกิดบรรยากาศที่ดีแก่ถนนสายประวัติศาสตร์

  2. เพื่ออนุรักษ์และปรับปรุงอาคารที่มีคุณค่า และสนับสนุนแก่การใช้สอยกิจกรรมของ   

      กลุ่มการค้า

  3. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนเมือง และส่งเสริมกิจกรรมด้าน

      การค้าบริการของย่าน

            โครงการนำร่องเพื่อนำไปสู่ความเป็นรูปธรรมนั้น ทางคณะทำงานได้ศึกษา ประวัติความเป็นมาของอาคาร รวมถึงรายละเอียดรูปแบบ ลักษณะ คุณค่า ของสภาพด้านหน้าอาคารในย่านถนนเจริญเมือง ซึ่งเป็นย่านการค้าดั้งเดิมหน้าเมืองเก่าแพร่ เติบโตขึ้นในช่วงที่ชาวตะวันตก เช่น เดนมาร์ก อังกฤษ เข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ หรือในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณร้อยกว่าปีที่ผ่านมา มีพ่อค้าชาวไทใหญ่ ชาวอินเดีย และชาวจีน เข้ามาประกอบกิจการ โรงเหล้า โรงสี โรงฝิ่น โรงหนัง โรงแรม ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าที่ทันสมัยที่สุดของเมืองแพร่ ก่อนที่จะปิดกิจการ จึงเกิดลักษณะสถาปัตยกรรมในย่านที่น่าสนใจ

ทางโครงการ คัดเลือกอาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม 3 รูแบบ คือ



1.เรือนร้านค้าไม้  

ความสำคัญของอาคาร เป็นตัวแทนของเรือนแถวไม้ในอดีตของย่านถนนเจริญเมือง  และเพื่อเป็นตัวอย่างในการอนุรักษ์อาคารเรือนแถวไม้

ปัญหา ส่วนประกอบอาคารที่ทำจากไม้เริ่มเสื่อมสภาพ ผุผัง

การซ่อมแซม รื้อถอนสิ่งบดบังออก เช่นแผ่นกั้นราวระเบียง ซ่อมแซมองค์ประกอบอาคารด้วยไม้เนื้อแข็ง ทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ เพื่ออนุรักษ์ความงามและคุณค่าทางสถาปัตยกรรม


 


เรือนร้านค้าไม้  ร้านมิตรหญิงและร้านไทยเจริญ ก่อนการปรับปรุง

   เรือนร้านค้าไม้ ขณะทำการปรับปรุง
เรือนร้านค้าไม้  หลังการปรับปรุง
  
เจ้าของเรือนร้านค้าไม้  รับมอบโครงการนำร่องการปรับปรุงหน้าอาคาร


2.ตึกแถวก่ออิฐถือปูนแบบชิโน-โปตุกีส

ความสำคัญของอาคาร  ร้าน เอ.เอส. ฮารีซิงค์ ตึกแถว 2 ชั้น 3 ห้อง สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส หรือ  ชิโน–ยูโรเปี้ยน เพียงแห่งเดียวของย่านถนนเจริญเมือง เป็นอาคารแบบตะวันตกที่สร้างโดยช่างชาวจีน สมัยเมืองแพร่ทำป่าไม้ เดิมเป็นสำนักงาน แล้วซื้อขายแลกเปลี่ยนตกทอดมาจนถึงชาวอินเดีย  ที่ใช้ประกอบกิจการ โรงแรม สถานพยาบาล ปัจจุบันเป็นร้านขายเครื่องประดับเครื่องใช้จากประเทศอินเดีย  เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม (Colonial Style) กับศิลปะจีน อาคารก่ออิฐฉาบปูนแบบโบราณ โครงสร้างระบบกำแพงรับน้ำหนัก (Bearing Wall) ชั้นล่างด้านหน้าทำการค้า มีลานกลางบ้าน (court) เป็นส่วนซักล้าง บ่อน้ำ และเชื่อมต่อเรือนครัว ชั้นบนปูพื้นไม้ กั้นห้องสำหรับพักอาศัย ด้านหน้าอาคารประดับ อาช (arch) 3 วง ตกแต่งหัวเสาและลวดลายแบบตะวันตก ด้านล่างมีช่องทางเดิน “อาเขต”(arcade) ที่เรียงอิฐโครงสร้างแบบ โรมันอาช (Roman Arch) ด้านบนเป็นระเบียงลูกกรงเซรามิค

ปัญหา การซ่อมแซมโดยใช้ปูนฉาบผิดประเภททำให้เกิดความชื้น เกิดการผุกร่อนของผิวปูนฉาบและอิฐด้านใน

            การซ่อมแซมอาคาร กะเทาะปูนฉาบที่เสื่อมสภาพผนังอาคารด้านนอกทั้งหมดและฉาบผิวด้วยปูนหมักที่เหมาะสำหรับอาคารเก่าเพื่อไม่ให้ผนังอาคารเกิดความชื้น ทาสี ซ่อมแซมฝ้าชายคาหน้าอาคารและคิ้ว บัว ให้อยู่ในสภาพเดิม เสริมความแข็งแรงของเสาด้านหน้าด้วยโครงสร้างเหล็กตรงบริเวณที่ผุกร่อนแล้วจึงฉาบปูนทับ

 

ตึกแถวก่ออิฐถือปูนแบบชิโน-โปตุกีส ก่อนการปรับปรุง

ตึกแถวก่ออิฐถือปูนแบบชิโน-โปตุกีส ขณะปรับปรุง
ตึกแถวก่ออิฐถือปูนแบบชิโน-โปตุกีส หลังการปรับปรุง


เจ้าของอาคาร ตึกแถวก่ออิฐถือปูนแบบชิโน-โปตุกีส  รับมอบโครงการนำร่องการปรับปรุงหน้าอาคาร

3. อาคารพาณิชย์ยุคนีโอ - คลาสสิค (Neo - classic)  5 คูหา

ความสำคัญของอาคาร  “ตึกขาว” สถาปัตยกรรมนีโอ - คลาสลิค เพียงแห่งเดียวของย่านถนนเจริญเมือง ที่หลวงศรีนครานุกูล สร้างขึ้นเพื่อให้เช่า โดยใช้ช่างก่อสร้างชาวจีนเซี่ยงไฮ้ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2478 - 2479 และยังเป็นตึกแถวคอนกรีตเสริมเหล็กยุคแรกๆของเมืองแพร่ (ปูนซีเมนต์น่าจะนำเข้าจากประเทศอังกฤษ ผ่านท่าเรือสิงคโปร์) ตึกขาวเคยเป็นที่ตั้งของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ (BBC) สาขาแพร่ เมื่อพ.ศ. 2500 ต่อมาให้เช่าประกอบกิจการหลายประเภท คุณค่าทางสถาปัตยกรรมสะท้อนยุคสมัยของถนนเจริญเมือง ลักษณะเด่น เช่น ส่วนหลังคาเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารทาสีขาว บานหน้าต่างไม้ทาสีฟ้าอมเทา ด้านหน้าอาคารที่ช่องลมและหัวเสา มีการตกแต่งที่ตัดทอนรายละเอียด ที่ส่วนบนสุดของผนังชั้นล่าง มีลาย “egg and dart” ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบนีโอ-คลาสลิค

ปัญหา เกิดการผุกร่อนของผิวปูนฉาบ กันสาดอาคารเกิดการรั่วซึม

การซ่อมแซมอาคาร ซ่อมแซมผนังอาคารด้านนอกและส่วนตกแต่งหน้าอาคาร ทาสี ให้อยู่ในสภาพเดิม ย้ายจานรับสัญญาณโทรทัศน์ไปไว้ที่ส่วนหลังคา (เจ้าของอาคารดำเนินการซ่อมส่วนกันสาดและพื้นผิวดาดฟ้าที่รั่วซึม รวมทั้งผนังภายในอาคารบางส่วนที่ผุกร่อน)


 

ตึกแถวคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ นีโอ-คลาสสิค ก่อนการปรับปรุง


ตึกแถวคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ นีโอ-คลาสสิค ขณะปรับปรุง


คอนกรีตเสริมเหล็กแบบ นีโอ-คลาสสิค หลังการปรับปรุง


 เจ้าของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ นีโอ-คลาสสิค รับมอบโครงการนำร่องการปรับปรุงหน้าอาคาร







1 ความคิดเห็น:

  1. ขออนุญาตนำภาพและลิงค์ไปประชาสัมพันธ์ให้คนแพร่ได้รับทราบนะครับ คือพยายามกดแชร์ไปที่ facebook แล้วไม่ได้ครับ ทำอย่างไรก็ไม่ไปครับ

    ตอบลบ