จุดประสงค์โครงการเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองและการอยู่อาศัยแบบบูรณาการ สร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักถึงคุณค่าควรแก่การฟื้นฟู ส่งเสริมเอกลักษณ์ของพื้นที่ชุมชนและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น โดยเน้นแนวคิด สุขลักษณะ ความน่าสบาย การอนุรักษ์คุณค่าของสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในย่านหรือเมืองมีความน่าอยู่ มีชีวิตชีวา.
อาจารย์กนกวรรณ คชสีห์ หัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือของการเคหะแห่งชาติ ร่วมกับสาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ โดยขอบเขตการศึกษาวิจัยในเขตเมืองเก่าแพร่ ที่มีประชาชนอยู่อาศัยมากกว่าพันปี และย่านการค้าถนนเจริญเมือง โดยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ และจัดประชาคม สร้างเครือข่าย ให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ แล้วจึงจัดเก็บข้อมูล รวบรวมจัดทำเป็นรายงานนำเสนอต่อหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง.
หลังจากนั้นจะเลือกพื้นที่ลงมือปฎิบัติเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ท้องถิ่น ได้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป โครงการฯจะใช้ระยะเวลา 12 เดือน เริ่มมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 .
ขั้นตอนแรก เป็นการทำความเข้าใจโครงการกับหน่วยราชการและประชาชน
ขั้นตอนที่สอง ลงพื้นที่เก็บข้อมูล รับฟังความคิดเห็น นำมาวางแผนผังที่จะสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง และ
ขั้นตอนที่สาม จะเป็นการวางผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยชุมชนเมืองแพร่ และลงมือปฏิบัติเป็นพื้นที่ตัวอย่าง 1 จุด ระหว่างเมืองโบราณเมืองแพร่ ในเขตกำแพงเมืองโบราณ หรือย่านการค้าเจริญเมือง
ภาพกิจกรรมวันเปิดตัวโครงการฯ

ทีมงานเตรียมงานเต็มที่
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมาถึงบริเวณ ชมนิทรรศการ มีท่านนายกเทศมนตรีเมืองแพร่และท่านประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดร่วมชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามในแฟ้มลงทะเบียนร่วมงาน
ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่และแขกรับเชิญร่วมงานทะยอยมาลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
ท่านประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด นายกเทศมนตรีเมืองแพร่ ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้อำนวยการฝ่ายการฟื้นฟูและพัฒนาเมือง การเคหะแห่งชาติ ให้เกียรติมาร่วมงาน
อ.อิศรา กันแตง นักวิจัยฯกล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน
อ.กนกวรรณ คชสีห์ หัวหน้าโครงการฯกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวเปิดงาน
อ.กนกวรรณ คชสีห์ หัวหน้าโครงการฯบรรยายแนะนำถึงความเป็นมา ขอบเขต วัตถุประสงค์และทีมงานของโครงการฯ
ผู้เข้าร่วมงานแนะนำตัวและร่วมให้ความคิดเห็น
เป็นกิจกรรมที่น่าชื่นชมมาก
ตอบลบปัจจุบันโครงการพัฒนาส่วนมากจะเน้นให้เป็นแบบทันสมัย
แสวงหาแต่ผลกำไรทางธุรกิจ
ทำลายศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่อันดีงาม
และไม่ให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่น
อยากเห็นโครงการดีๆ ลักษณะนี้ เป็นที่แพร่หลาย และประสบความสำเร็จ